นิสิตคณะกายภาพบำบัดเข้าร่วมและได้รับรางวัลชนะเลิศจากโครงการ Hacking Health Prachinburi Hackathon 2019

PT & HP Awards

เมื่อวันที่ 6-7 กรกฎาคมที่ผ่านมา นิสิต สาขากายภาพบำบัด ชั้นปีที่ 3 ได้แก่ นายสันติรุจ ไชยหิรัญการ น.ส.สุดารัตน์ แซ่เตียว น.ส.อรยา ฉั่วเจริญ และ น.ส.สวรรยา ลิ้มสุวรรณ ได้เข้าร่วมโครงการ "Hacking Health Prachinburi Hackathon 2019" ของคณะเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตปราจีนบุรี โดยลักษณะโครงการ จะให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้ร่วมกันแก้ไขปัญหาให้กับโรงพยาบาลศรีมหาโพธิ ทั้งนี้ ปัญหาที่นิสิตทั้ง 4 คนได้รับ ประกอบด้วย
1. กลุ่มแผนกฉุกเฉิน ปัญหาาคือ ผู้ป่วยมารออยู่เยอะมากแล้ว ไม่รู้เหตุผลว่าทำไมต้องรอนาน คนมาทีหลังทำไมถึงเข้าก่อน >> วิธีแก้ปัญหาที่เกิดจากการระดมความคิดคือ ทำระบบ ที่บอกลำดับชื่อพร้อมแถบสถานะว่า เป็นผู้ป่วยที่มีseverityระดับไหน นอกจากนี้ยังมีสื่อให้ความรู้เป็นวิดีโอในหน้าเดียวกัน
2.กลุ่มแผนกผู้ป่วยนอก ปัญหาที่พบคือ จำนวนผู้ป่วยเยอะมากเมื่อเทียบกับสถานที่ของแผนกที่คับแคบ >> วิธีแก้ปัญหา การลดความแออัดในแผนกให้ผู้ป่วยไม่ต้องกังวลในเรื่องการรอคิวขอตัวเอง สามารถที่จะกระจายผู้ป่วยที่แออัดในแผนกออกได้บ้าง จึงคิดนวัตกรรมที่จะช่วยแก้ไขปัญหานี้ ก็คือ notify queue เป็นกำไลแจ้งเตือนที่จะใช้เป็นระบบไวไฟ ที่จะคอยแจ้งเตือนโดยการสั่นก่อนถึงคิวก่อนหน้า 5 คิว เพื่อให้ผู้ป่วยที่มาใช้บริการได้มีเวลาไปทำอย่างอื่น และก็เป็นเรื่องของความรู้สึกที่ผู้ป่วยจะได้ไม่ต้องรออย่างไร้จุดหมาย ซึ่งเครื่องนี้จะสามารถที่จะวัดชีพจรได้ด้วย
3. กลุ่มแผนกการนำทางคลีนิค ปัญหาที่พบคือ การส่งแบบประเมินตัวชี้วัดแต่ละแผนกล่าช้า ไม่ตรงตามกำหนด วิธีแก้ปัญหา >> การจัดทำโปรแกรมที่สามารถออนไลน์ได้ตลอดเวลา ให้หัวหน้าแต่ละแผนกสามารถเข้าระบบนี้ เพื่อกรอกข้อมูลได้อย่าง real time และสามารถส่งให้ผู้รวบรวมข้อมูลได้รวดเร็ว ทำให้การส่งข้อมูลง่ายขึ้น ถูกต้องและน่าเชื่อถือ โดยมีการป้องกันการเข้าถึงข้อมูลจากการล้อคอินจะต้องมีรหัสผ่าน ซึ่งจะมีแค่หัวหน้าแต่ละแผนกเท่านั้นที่มี
4. กลุ่มบริการด้านปฐมภูมิฯ ปัญหาที่พบคือ มีวันให้บริการเพียงวันเดียว คือวันพุธ ทำให้มีผู้มารับบริการเยอะ แล้วในการตรวจจะต้องเข้ารับบริการหลายจุด เช่น ในการตรวจทางหู ปอด สายตา ตรวจเลือด พบแพทย์ เมื่อตรวจจุดนึงเสร็จแล้ว พนักงานต้องได้รับบริการในจุดถัดไป แต่พนักงานไปยังจุดบริการถัดไปไม่ถูก เพราะเส้นทางวน มีโค้งซับซ้อน พี่เจ้าหน้าที่จึงแก้ไขปัญหาโดยให้พนักงานนั่งรอ พี่เจ้าหน้าที่จึงจะนำทางพนักงานไปยังจุดบริการถัดไปให้ แต่ก็เกิดปัญหาอีกคือคนที่ตรวจเสร็จก่อนก็ต้องรอคนที่ยังตรวจไม่เสร็จ เพื่อจะไปยังจุดบริการถัดไปได้พร้อมกัน เนื่องจากเจ้าหน้าที่ไม่พอจึงนำทางพนักงานทีละคนไม่ได้ >> วิธีแก้ปัญหาคือ การทำเส้นทางเดินเป็นสี เพื่อเป็นทางเดินให้แก่ผู้ที่เข้ามายังโรงพยาบาล โดยแต่ละจุดที่สำคัญจะถูกกำหนดให้มีสีและสัญลักษณ์ต่างกัน เพื่อที่จะได้เข้าใจง่าย และในเส้นทางเดินยังมีข้อความประกอบ เพื่อป้องปัญหาคนที่ตาบอดสีแยกสีไม่ได้ด้วย วิธีนี้นอกจากจะแก้ปัญหาเรื่องการหลงทางแล้วยัง ช่วยลดเวลาในการให้บริการเพราะคนไข้ไม่ต้องมารอคนถัดไป กระบวนการส่งต่อการให้บริการไปยังจุดถัดไปเป็นไปได้ง่ายขึ้น โครงการนี้ให้ประโยชน์ทั้งกับบุคลากรในโรงพยาบาล ผู้มารับบริการ และคนอื่นๆ ที่มาติดต่องานในโรงพยาบาล โดยที่งบประมาณในการดำเนินโครงการก็ไม่สูงด้วย
โดยเรื่อง การทำเส้นทางเดินเป็นสี ได้รับรางวัลชนะเลิศจากโครงการนี้
ข่าว: อ.ดร.จิราภรณ์ วรรณปะเข (ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัย)
ภาพ: Facebook page Photo Kmutnb ปราจีนบุ

วันเริ่ม
วันสิ้นสุด