โรคติดมือถือ หรือโนโมโฟเบีย

สื่อความรู้ด้านกายภาพบําบัด

โรคติดมือถือ หรือโนโมโฟเบีย
โนโมโฟเบีย (Nomophobia) เป็นอาการหวาดกลัวเมื่อต้องดำรงชีวิตอยู่โดยไม่มีมือถือหรือไม่ได้ใช้มือถือ ไม่ว่าจะเป็นการลืมพกมือถือติดตัว มือถือแบตหมด หรือการอยู่บริเวณที่ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ จะทำให้ผู้ที่มีภาวะนี้รู้สึกกระวนกระวายใจ หงุดหงิด เครียด มีเหงื่อออก ตัวสั่น หรือคลื่นไส้ ทั้งนี้พฤติกรรมติดมือถืออาจส่งผลกระทบต่อการเรียน การทำงาน ความสัมพันธ์ต่อคนรอบข้าง หรือการใช้ชีวิตประจำวันด้านต่าง ๆ และการใช้มือถือบ่อยจนเกินไป รวมถึงการวางท่าทางที่ไม่เหมาะสมขณะใช้มือถือ อย่างการก้มหน้าเพ่งจอใกล้ ๆ เป็นเวลานาน หรืออยู่ในท่าที่ถือและใช้มือถือนาน ๆ อาจก่อให้เกิดโรคหรืออาการป่วยหลายอย่างตามมาได้เช่น นิ้วล็อค ปวดเกร็งบริเวณคอ บ่า ไหล่ จอประสาทตาเสื่อม หมอนรองกระดูกที่คอเสื่อมก่อนวัย เส้นประสาทสันหลังบริเวณคอถูกกดทับจนเป็นเหตุให้เกิดอาการชาที่แขน มือไม่มีแรง เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้ที่นั่งหรือนอนเล่นมือถือเป็นเวลานานยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน และการเดินเล่นมือถือหรือเล่นมือถือระหว่างเดินทาง อาจเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือได้รับอันตรายต่อร่างกายและทรัพย์สินอีกด้วย
ขอบคุณภาพจาก facebook page เราเตือนแล้วนะ
จัดทำโดย นิสิตสาขาการส่งเสริมสุขภาพ คณะกายภาพบำบัด มศว
ที่มา : https://www.pobpad.com/แก้อาการติดมือถือด้วย-4
https://www.potatotechs.com/ปัญหาสุขภาพจากการใช้มื/
รูปภาพ : กุลนารี ภวภูตานนท์ 093
เรียบเรียง : กุลนารี ภวภูตานนท์ 093

วันเริ่ม
วันสิ้นสุด